การทดแทนพลังงานสำคัญอย่างไร


พลังงานที่มนุษย์นั้นใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นไม่ว่าจะเป็นพลังงานความร้อน พลังงานกลหรือพลังงานจากแหล่งใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีการสูญสิ้นพลังงานนั้นไปทั้งสิ้น แต่สิ่งที่จะได้กลับคืนมานั้นก็จะเป็นผลพลอยได้ต่าง ๆ ซึ่งผลพลอยได้เหล่านี้มันจะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้าในการนำอาหารเข้าไปอุ่นในเครื่องไมโครเวฟ เพื่อให้เครื่องไมโครเวฟนั้นสามารถนำกระแสไฟฟ้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงานอีกหนึ่งรูปแบบ เช่น ความร้อน เพื่อให้อาหารนั้นมีความสุกหรืออุ่นขึ้น พลังงานที่ป้อนให้แก่ไมโครเวฟนั้นล้วนแต่มีการเปลี่ยนรูป ไม่สามารถย้อนกลับกระบวนการได้ ดังนั้นจะดีไหมครับว่าเราจะหาพลังงานหมุนเวียนมาแก้ปัญหา ณ จุด ๆ นี้ 

พลังงานหายไปได้อย่างไร? 

พลังงานต่าง ๆ ตามกฎที่นักวิทยาศาสตร์และนักฟิสิกส์ให้คำนิยามนั้นคือ “พลังงานไม่ได้หายไปไหนแต่อย่างใด แต่พลังงานนั้นจะเปลี่ยนรูปไปเป็นอีกหนึ่งพลังงานที่ค่าเท่ากัน” กล่าวคือถ้าหากว่าเราใช้พลังงานในการปาลูกเบสบอลในปริมาณหนึ่ง ๆ แล้ว ค่าพลังงานนั้นจะถูกเปลี่ยนไปพลังงานจลน์เคลื่อนที่และพลังงานศักย์ในปริมาณที่เท่ากันด้วย ตามกฎการอนุรักษ์พลังงานนั่นเอง เพราะฉะนั้นพลังงานที่ให้ไปกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ไม่สามารถนำหรือดึงค่าเหล่านั้นกลับมาเป็นกระแสไฟฟ้าได้ เพราะฉะนั้นสิ่งเดียวที่จะทำได้ก็คือการหาพลังงานหมุนเวียนมาใช้เพื่อทำการสร้างพลังงานต้นกำเนิดที่มีอยู่ให้ได้มีจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ต่อไป 

พลังงานหมุนเวียน 

พลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานที่มนุษย์นั้นสามารถหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรนั้น ๆ ได้อย่างไม่จำกัด หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นพลังงานที่สามารถก่อกำเนิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติครับ โดยพลังงานหมุนเวียนที่เราพอจะทราบมาในปัจจุบันนี้จะมีอยู่ 3 แหล่งกำเนิดหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่ 

  1. พลังงานน้ำ 

พลังงานน้ำนี้เป็นพลังงานที่ได้มาจากการกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อน ซึ่งเมื่อเขื่อนได้รับปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นจากธรรมชาติซึ่งก็คือ ฝนตก ก็จำเป็นที่จะมีการระบายน้ำเพื่อลดระดับปริมาณน้ำลง แต่การที่จะระบายน้ำนั้นเราสามารถเพิ่มคุณค่าให้แก่น้ำที่ถูกระบายออกได้ด้วยการติดมอเตอร์และทำระบบในการเก็บค่าพลังงานเมื่อน้ำหมุนผ่านใบพัดจนสามารถนำค่าพลังงานนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น พลังงานไฟฟ้า 

  1. พลังงานลม 

พลังงานลมนี้เกิดจากการหมุนของใบพัดของกังหันลม ในส่วนของหลักการนั้นก็เหมือนกับหลักการเก็บพลังงานจากน้ำ แต่ลมนั้นสามารถเกิดได้ตลอดเวลาและบ่อยกว่าการรอฝนตกนั่นเอง 

  1. พลังงานแสงอาทิตย์ 

พลังงานนี้เกิดจากดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าดวงอาทิตย์ในการสร้างความร้อนและเปล่งแสงสว่างออกมา ซึ่งแสงสว่างนี้จะมีอนุภาคโฟตอนทำให้เซลล์ของแผงโซล่าเซลล์เกิดประจุและสามารถนำประจุนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่นการนำไปใช้ในการทดแทนไฟฟ้าซึ่งเป็นพลังงานปลายทางนั่นเอง